วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

5-4-51 B สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแห่งแรกของไทยคือที่ใด

เป็นคำถามแรกที่เริ่มมีการส่ง SMS
ส่งเมื่อ : 5/4/51 เวลา : 15 : 46 น.

ตอบ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดหนองหาน จ.สกลนคร

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสกลนคร ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2485 บริเวณหนองหาร ใช้ชื่อครั้งแรกว่า สถานีประมงหนองหาร เพื่อดำเนินการผลิตพันธุ์ปลาและอนุรักษ์ปลาในเขตหนองหาร และส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสกลนคร มีเนื้อที่ 103 ไร่ 1 งาน 88 ตารางวา มีบ่อที่ใช้สำหรับเพาะพันธุ์ปลาและทดลองค้นคว้ารวม 46 บ่อ เนื้อที่ 29,603 ตารางเมตร (18.502 ไร่) มีที่ทำการและอาคารบ้านพัก 27 หลัง และเมื่อปี 2518-2519 ได้รับงบประมาณปรับปรุงบริเวณสระพังทองพร้อมท่าขึ้นปลา สร้างอาคารหน่วยอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำที่ดอนสวรรค์ ในขณะนั้นสถานีฯ มีเนื้อที่ทั้งหมด 160 ไร่ เป็นบ่อดิน 109 บ่อ เนื้อที่รวม 108,072 ตารางเมตร หรือ 67.545 ไร่ บ่อคอนกรีตจำนวน 58 บ่อ เนื้อที่รวม 826 ตารางเมตร (รวมทั้งบ่อคอนกรีตภายในโรงเพาะฟักที่สร้างเมื่อปี 2523) ปี 2535 สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสกลนครได้รับงบประมาณโครงการบูรณะแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มผลผลิตด้านการประมง โดยทำหารปรับปรุงสถานีฯ ใหม่ ซึ่งได้แก่ อาคาร บ้านพัก บ่อดิน บ่อคอนกรีต ห้องปฏิบัติการ สถานแสดงพันธุ์ปลา ตลอดจนโรงเพาะฟักให้มีขนาดใหญ่ เพื่อให้มีความสามารถในการผลิตพันธุ์ปลาเพิ่มขึ้น มีพื้นที่ทั้งหมด 157 ไร่ 1 งาน 65 ตารางวา

ในปี 2545 กรมประมงได้ทำการปรับโครงสร้างของหน่วยงานใหม่โดยสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสกลนคร ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสกลนคร มีสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดนครพนมเป็นหน่วยงานในสังกัด ที่ตั้ง : 1535 ถนนใสสว่าง ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000



ที่มา http://www.fisheries.go.th/if-sakhon/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น