วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

9-4-51 R ภาพยนตร์เรื่องใด ใช้เงินลงทุนในการสร้างมากที่สุดในโลก

ส่งเมื่อ : 9/4/51 เวลา : 09 : 52 น.
ตอบ ไททานิค ( TITANIC)



















ไททานิก (Titanic) เป็นชื่อภาพยนตร์ของของสหรัฐอเมริกา ออกฉายในปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) ผลิตโดย ทเวนตีส์เซ็นจูรีฟ็อกซ์ และ พาราเมาต์พิกเจอร์ นำแสดงโดย ลีโอนาร์โด ดีคาปริโอ และ เคต วินสเลต กำกับโดย เจมส์ คาเมรอน โดยเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในประวัติศาสตร์ ทั้งหมด 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั่วโลก

กำกับ เจมส์ คาเมรอน
อำนวยการสร้าง เจมส์ คาเมรอน
บทภาพยนตร์ เจมส์ คาเมรอน
นักแสดงนำ
ลีโอนาโด ดิคาปริโอ
เคต วินสเลต
บิลลี่ เซน
ฟรานเซส ฟิชเชอร์
แคที่ เบตส์
แดนนี่ นุตซี่
บิลล์ แพ็กซ์ตัน
กลอเรีย สจ๊วร์ต
เพลงประกอบ เจมส์ ฮอร์เนอร์
กำกับภาพ รัสเซล คาร์เพนเตอร์
จัดจำหน่าย 20th Century Fox (นอกอเมริกา), Paramount Pictures (ในอเมริกา)
วันที่เข้าฉาย 19 ธันวาคม ค.ศ. 1997 (ในอเมริกา), 24 ธันวาคม ค.ศ. 1997 (ในไทย)
ความยาว 194 นาที
งบประมาณ 200,000,000 เหรียญสหรัฐ

ไททานิกในเมืองไทย
ไททานิก ได้เข้าฉายในประเทศไทย ในวันแรกคือวันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (แต่ทุกโรงได้ฉายก่อนล่วงหน้าหนึ่งวัน คือวันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เว้นแต่ในโรงเครืออีจีวีที่ฉายตามกำหนดเดิม) โดยไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย และเมื่อฉายแล้วก็ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้นในสังคม จนเป็นคำที่พูดติดปากกันว่า "แจ๊คกับโรส" และโดยเฉพาะในหมู่เด็กสาว ๆ ที่คลั่งไคล้ดารานำชาย คือ ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ เหมือนกับหลายประเทศที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉาย โดยสื่อต่าง ๆ และสังคมมีการนำเสนอแง่มุมหรือเรื่องราวต่าง ๆ ของดารานำชายผู้นี้อย่างกว้างขวาง

เพลงประกอบภาพยนตร์
เพลงประกอบภาพยนตร์ "มายฮาร์ตวิลโกออน" (My Heart Will Go On) ซึ่งประพันธ์โดยวิลล์ เจนนิง (Will Jenning) อำนวยเพลงโดยเจมส์ ฮอร์เนอร์ (James Horner) และวอลเตอร์ เอฟฟานาซีฟ (Walter Effanasif) ขับร้องโดยเซลีน ดิออน (Celine Dion) ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง โดยได้รับการเปิดออกอากาศทางสถานีวิทยุนานนับเดือน กับทั้งยังส่งผลต่อฉบับลอกแบบอื่น ๆ ที่ตามอีกด้วย เช่น ฉบับบรรเลงโดย เคนนี จี หรือฉบับภาษาไทยที่มีผู้ลักลอบแปลและบันทึกเสียงออกจำหน่าย

สำหรับคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของไททานิคนั้นคงเป็นความตั้งใจของคาเมร่อนที่จะถ่ายทอดเรื่องราวการจมของไททานิคผ่านทางแผ่นฟิล์มโดยผ่านศิลปะการเล่าเรื่องด้วยภาพอย่างประณีต และใช้ตัวละครกับเรื่องราวที่สร้างขึ้นแทรกซึมเข้าไปกับการไหลลื่นของเรื่องราวในประวัติศาสตร์ได้อย่างกลมกลืนและแนบเนียน แล้วยังเสริมความโดดเด่นของพฤติกรรมและเรื่องราวของบรรดาผู้โดยสารตอนเรือล่มได้อย่างน่าประทับใจ จนไททานิคได้เป็นภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ที่มีเสน่ห์และมีชีวิตชีวาอย่างที่สุดเรื่องหนึ่ง ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับการจมของไททานิคมาหลายเรื่อง แต่ไม่มีเรื่องใดที่ได้รับความนิยมและอยู่ในความทรงจำได้ขนาดนี้

นับได้ว่า คาเมร่อนสามารถสร้างความสมดุลระหว่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เรื่องราวที่แต่งเติม ความสนุกสนานตื่นเต้น โศกนาฏกรรม และความประทับใจแบบบรรยากาศของหนังฮอลลีวู้ดไว้ได้อย่างกลมกลืนและกระชับ โดยเฉพาะ ตอนที่แจ็คสิ้นลมในขณะที่ยังกุมมือของโรสไว้แน่น โดยที่โรสยังไม่รู้ตัว (ตรงกันข้ามกับตอนที่พี่โกโบเบิร์ดกำลังจะสิ้นใจ พี่แกรำพันกับหนูอังสุมากวางได้เป็นวรรคเป็นเวรหลายๆ ตอนเพื่อให้สปอนเซอร์ได้โฆษณากันอย่างเต็มที่)

ถ้าจะกล่าวอย่างสรุปสั้นๆ ว่า ไททานิคคือความลงตัวระหว่างศิลปะ และการพาณิชย์ของภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง

อีกประเด็นที่หนังเรื่องนี้มีความโดดเด่นอย่างมากก็คือ การกำกับเทคนิคพิเศษตอนเรือล่ม ซึ่งทั้งตัวแสดงบทผาดโผน ฝ่ายกำกับศิลป์ ฝ่ายเทคนิคพิเศษ และฝ่ายตกแต่งภาพด้วยคอมพิวเตอร์ต่างทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างเต็มที่จนได้ภาพที่เรียกได้ว่าเพอร์เฟ็กต์จนหลายๆ คนหาจุดอ่อนความไม่สมจริงแทบไม่เจอ (เทียบกับเรื่อง Perfect Storm ผมคิดว่าภาพพายุในทะเลยังมีจุดที่ดูออกว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์อยู่ดีครับ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น